วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การตั้งเสียงกลอง

      การตั้งเสียงกลอง


วิธีจูนเสียงกลองนั้นเหมือนกันในทุกๆใบ ไม่ว่าจะเป็นทอม สแนร์ หรือBass drumแต่สแนร์นั้นอาจ
มีวิธีจูนที่เป็นเอกภาพต่างหากจะพูดต่อไปในอนาคตต่างหากครับ หนังด้านบนมีไว้ถูกตีให้เกิดเสียงด้วย
การสั่นขณะที่หนังด้านล่างช่วยให้เกิดการResonant เกิดเสียงOvertone ดังนั้นหนังด้านล่างจึงมีความ
สำคัญไม่น้อยกว่าด้านบนเช่นกัน ในขณะที่จูนเสียงคุณต้องใช้กุญแจปรับความตึงของหนัง
หนังยิ่งตึงยิ่งให้เสียงที่สูงขึ้น การขันน๊อตไม่ควรขันเรียงลำดับกันไป และไม่ควรขันให้แน่นในทีเดียว
ควรเริ่มจากตำแหน่งที่หนึ่ง แต่ไม่ใช้ขันไล่ไปทวนเข็มหรือตามเข็มนาฬิกาแต่ตัวต่อไปต้องไขในตำแหน่งตรงกันข้ามกับตัวแรกด้วยแรงบิดที่เท่ากัน


       แล้วทำด้วยวิธีเดียวกันไปเรื่อยๆกับน๊อตที่เหลืออยู่ จนกลับมาที่น๊อตตัวแรกค่อยขันให้แน่นขึ้น 
แล้วขันไปในแรงบิดที่เท่ากันจนครบทุกตัวจากนั้นค่อยๆปรับหนังให้ตึงเท่าๆกัน ไม่มีตรงไหนหย่น 
ลองตีแล้วแล้วให้เสียงที่ต่ำๆเท่ากัน จากนั้นค่อยๆขันน๊อตขึ้นประมาณ1/4 รอบจนได้เสียงที่ถูกใจ 
ในส่วนหนังด้านล่างใช้วิธีการจูนเช่นเดียวกัน แต่จะต้องสัมพันธ์กับหนังด้านบนซึ่งอาจจูนให้ได้
ระดับเสียงที่ เท่ากับ สูงกว่า หรือต่ำกว่าหนังด้านบนก็ได้ คุณต้องลองตั้งดูแล้วเลือกเสียงที่ชอบครับ
เมื่อจูนเสียงได้แล้ว ก็จูนใบอื่นๆอีกให้เข้ากัน โดยทั่วไปกลองใบเล็กจะให้เสียงที่สูงกว่าใบใหญ่
คุณต้องตั้งเสียงกลองให้มีระดับเสียงที่ต่างกัน ซึ่งทอมแต่ละใบควรตั้งให้เสียงต่างกันเป็นคู่สามหรือ
คู่สี่ (คือเสียง โดกับมี หรือโดกับฟา)ซึ่งคุณควรทราบว่าการตั้งเสียงกลองไม่มีถูกหรือผิดมือกลอง
แต่ละคนมีวิธีต่างกัน การตั้งเสียงกลองที่สูงไป เสียงกลองจะไม่เป็นธรรมชาติเสียงไม่ออก 
ตรงกันข้ามถ้าตั้งต่ำเกินไปเสียงจะหายไป ได้เสียงหย่อนๆยานๆ
คุณจำเป็นต้องจูนให้ได้ในตำแหน่งที่ไพเราะของกลองชุดนั้นด้วยหูของคุณเอง
โน๊ตกลอง



การบรรเลงกลองชุด มีขั้นตอนดังนี้

การบรรเลงกลองชุด มีขั้นตอนดังนี้
1.  การนั่ง  ผู้บรรเลงกลองชุดต้องนั่งบรรเลง เพื่อใช้เท้าทั้งสองข้างให้เป็นประโยชน์  ก่อนนั่งควรเลือกเก้าอี้สำหรับนั่งตีกลอง  เมื่อนั่งแล้วรู้สึกสบายไม่เจ็บก้นเพราะเก้าอี้นั่งมีหลายชนิด  บางชนิดสามารถปรับเลื่อนให้สูงขึ้น  หรือต่ำลงได้ตามต้องการ  การนั่งควรนั่งตามสบาย เท้าและหัวเข่าทั้งสองแยกออกจากกัน  เพื่อให้กลองเล็กอยู่ระหว่างหัวเข่าทั้งสอง  เท้าข้างขวาวางลงบนกระเดื่องกลองใหญ่  เท้าข้างซ้ายวางลงบนกระเดื่องไฮ-แฮท  หลังต้องไม่งอโค้ง  ควรตั้งให้ตรงอยู่เสมอ  เพื่อให้อาการปวดหลังมีน้อยมาก  หายใจสะดวกปลอดโปร่ง (ส่วนมากเมื่อบรรเลงไประยะหนึ่งหลังจะงอโค้งเป็นส่วนใหญ่)  คอตั้งตรง ใบหน้าตั้งตรงไม่ก้มต่ำ  สายตามองดูบทเพลงและเพื่อนร่วมบรรเลง  เพราะผู้บรรเลงกลองชุดจะเป็นผู้ให้สัญญาณจังหวะ  กรณีที่ไม่มีผู้อำนวยเพลง

2.  การจับ  การจับไม้ตีกลองชุด  มีวิธีการเดียวกันกับการจับไม้ตีกลองเล็กทุกประการ  ก่อนบรรเลงควรเลือกไม้ตีกลองชุดที่แข็งแรงไม่หักง่ายสองชุด  ชุดที่หนึ่งต้องมีน้ำหนักเบาเพื่อบรรเลงจังหวะช้าจนถึงปานกลาง  เพราะทำให้บรรเลงได้สะดวกคล่องแคล่ว โดยเฉพาะการรัว  กลองเล็กหรือกลองทอม  และการเดี่ยวกลอง  ชุดที่สองต้องมีน้ำหนัก  เพื่อบรรเลงเพลงประเภทเฮฟวี่ (Heavy)  ฮาร์ด ร็อค(Hardrock)  และดิสโก้(Disco)  ฯลฯ  

            
เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งสำหรับใช้บรรเลง  กลองชุด  ทำด้วยโลหะ  ความยาว  14-15 นิ้วแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  ส่วนที่หนึ่งทำด้วยโลหะ หรือพลาสติก หรือยาง หรือโลหะหุ้มพลาสติก หรือหุ้มยาง ส่วนที่สองทำด้วยโลหะเส้นเล็กๆ เหมือนเส้นลวดหลายเส้น ตอนปลายส่วนที่หนึ่งมีปุ่มสำหรับดึงเส้นลวดเก็บเข้าเครื่องมือชนิดนี้เรียกว่าแส้ หรือแปรงลวด (wire Brushes) วิธีจับแส้ให้จับอย่างเดียวกันกับการจับไม้ตีกลองเล็ก


3.  การบรรเลง ก่อนการบรรเลงต้องตรวจสอบระยะกลองชุดและฉาบ ให้อยู่ในระยะพอเหมาะกับมือและเท้า เริ่มจากเท้าขวาโดยวางเท้าข้างขวาลงบนกระเดื่องให้หัวเข่าทำมุมฉากพอดี อย่าให้เกินมุมฉาก เพราะจะทำให้เมื่อยเร็วแล้วยังทำให้กลองใหญ่ถอยห่างออกไปได้ เท้าข้างซ้ายก็เช่นกัน วางเท้าลงบนกระเดื่องไฮ แฮท ให้หัวเข่าทำมุมฉาก ส่วนกลองเล็กตั้งอยู่ระหว่างหัวเข่าทั้งสอง มือขวาระยะให้พอดีกับฉาก อย่าตั้งฉากให้ไกลสุดมือ เพราะจะทำให้เมื่อยแขนโดยไม่จำเป็น ควรดึงฉาบเข้าหาตัวให้ระยะห่างประมาณช่วงแขนงอได้เพื่อสะดวกต่อการบรรเลง ข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่งคือ อย่าให้เบียดชิดติดกันมากนักเพราะจะทำให้การบรรเลงอาจจะผิดพลาดขึ้นได้ โดยไม้ตีกลองอาจจะกระทบกับฉาบหรือกลองทอม ฉะนั้นควรกะระยะให้พอดี ทดลองตีทุกๆเครื่องมือเสียก่อน แล้วจึงลงมือบรรเลง

4.วิธีการเหยียบกระเดื่องกลองใหญ่ ให้วางเท้าลงบนกระเดื่อง กดปลายเท้าลงบนกระเดื่องแล้วรีบ ยกปลายเท้าขึ้นโดยให้สันเท้าติดอยู่กับที่ กระเดื่องจะเด้งติดตามปลายเท้ามาโดยอัตโนมัติ วิธีนี้ใช้สำหรับการบรรเลงจังหวะธรรมดา ตั้งแต่จังหวะช้าๆ จนถึงจังหวะค่อนข้างเร็ว ส่วนจังหวะเร็วและต้องการเสียงกลองหนักแน่นให้ยกขาขึ้นแล้วใช้ปลายเท้ากดลงบนกระเดื่องโดยให้น้ำหนักอยู่ที่ปลายเท้า แล้วรีบยกขาขึ้นอย่างเร็ว ต้องการความเร็วขนาดไหน ก็ให้ชักเท้าขึ้นและกดปลายเท้าลงตามที่ต้องการ วิธีนี้ยังใช้สำหรับการรัวกลองใหญ่ได้อีกด้วย


5.วิธีการเหยียบกระเดื่องไฮ แฮท โดยวางเท้าลงบนกระเดื่องให้น้ำหนักอยู่ที่ปลายเท้า กดปลายเท้าลง ยังไม่ต้องรีบยกขึ้นเมื่อต้องการเสียงสั้น ถ้าต้องการเสียงยาวให้รีบยกปลายเท้าขึ้นทันที กรณีที่บทเพลงต้องการให้บรรเลงเสียงสั้นและยาวตามจังหวะเพลงให้ใช้ไม้กลองเล็กตีลงบนไฮ แฮทตามจังหวะ  เท้าเหยียบลงบนกระเดื่องแล้วรีบยกขึ้นจะได้เสียงทั้งสั้นและยาวสลับกันไป

6.การเดี่ยวกลอง หรือโซโลกลอง  ให้ยึดจังหวะกลองใหญ่เป็นจังหวะหลัก จังหวะไฮ-แฮทเป็นจังหวะรอง โดยใช้มือขวานำตามด้วยมือซ้าย เริ่มจากกลองเล็ก ทอม ทอม และฟลอร์ทอม วนเวียนตามลำดับ หรืออาจสลับกลับกันจากฟลอร์ทอมเป็นทอม ทอมและกลองเล็กลักษณะนี้ต้องมือซ้ายนำ เพื่อป้องกันมือทั้งสองข้างกระทบกัน

เทคนิคการตีกลอง

เทคนิค การตีกลอง


            โดยทั่วไปกลองชุดประกอบด้วยกลองใหญ่ 1 ใบ กลองเล็ก 1 ใบ กลองทอมใหญ่หรือฟลอร์ทอม 1 ใบ กลองทอม ทอม 2 ใบ ฉาบใหญ่ 1 ใบ ฉาบเล็ก 1 ใบ และไฮแฮท 1คู่  ก่อนการบรรเลงต้องจัดกลองชุดให้ถูกต้องเสียก่อน  เริ่มต้นจากกลองใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าผู้บรรเลง  กลองเล็กตั้งอยู่ริมขอบกลองใหญ่ด้านซ้ายมือ  กลองทอมใหญ่ หรือฟลอร์ทอมตั้งอยู่ริมขอบกลองใหญ่ด้านขวามือ กลองทอม ทอม สองใบตั้งอยู่บนกลองใหญ่ ทอมใบเล็กติดตั้งด้านซ้ายมือ ทอมใบที่ใหญ่กว่า ติดตั้งด้านขวามือ ส่วนฉาบใหญ่ตั้งอยู่ระหว่างกลองใหญ่กับทอมใหญ่ด้านขวามือ ฉาบเล็กตั้งอยู่ระหว่างกลองใหญ่กับกลองเล็กด้านซ้ายมือ และไฮแฮท อยู่ติดกับกลองเล็กด้านซ้ายมือ หลังจากจัดกลองชุดเรียบร้อยแล้ว ควรตรวจสภาพกลองทุกใบให้อยู่ในสภาพการที่ใช้การได้ดีโดยเฉพาะการปรับเสียงกลองใหญ่ ตรวจสอบแผ่นพลาสติกโดยการวางเท้าลงบนกระเดื่องแล้วกดปลายเท้าลง หูฟังเสียงกลองใหญ่ ลักษณะเสียงที่บ่งบอกว่าไม่ตึงเกินไปไม่หย่อนเกินไป จะมีเสียงทึบก้องกังวานพอประมาณ ถ้าเสียงทึบความก้องกังวานสั้นแสดงว่าตึงเกินไป  แต่ถ้าเสียงไม่ทึบและมีความก้องกังวานมากแสดงว่าหย่อนเกิดไป ฉะนั้นควรปรับเสียงกลองใหญ่ให้พอดีไม่ตึงเกินไปหรือหย่อนมาก  การปรับเสียงกลองเล็กต้องปลดเส้นลวดออกจากแผ่นพลาสติกก่อน นำไม้ตีกลองเล็กเคาะลงบนแผ่นพลาสติก เพื่อฟังเสียงกลองเล็ก วิธีการปรับเสียงกลองเล็กโดยการใช้ที่หมุนมีลักษณะกลมเป็นโพรงมีที่จับสำหรับหมุนกลองเล็กบางชนิดใช้ไขด้วยสกรู  การปรับเสียงต้องนำวิธีการปรับเสียงกลองใหญ่มาใช้ คือ ปรับจุดที่หนึ่งใกล้ตัว แล้วย้ายไปปรับจุดที่สองซึ่งอยู่ตรงกันข้ามและจุดที่สามปรับด้านบนแล้วย้ายไปปรับจุดที่ 4 อยู่ตรงกันข้ามคือด้านล่าง เหมือนกับเข็มทิศปรับทิศเหนือแล้วย้ายลงใต้ ปรับทิศตะวันออกแล้วย้ายไปปรับทิศตะวันตก  ดังนี้เรื่อยไปทุกจุด   อย่าปรับทุกจุดตามลำดับเรียงกันเป็นวงรอบ เพราะจะทำให้ด้านแต่ละด้านไม่เท่ากัน  เมื่อปรับจุดใดจุดหนึ่งและด้านตรงกันข้ามเรียบร้อยแล้ว ใช้ไม้ตีกลองเล็กเคาะลงบนแผ่นพลาสติกเพื่อฟังเสียง  ถ้าเสียงสูงแสดงว่าตึง ถ้าเสียงต่ำแสดงว่าหย่อน  ต้องปรับทั้งสองด้านใหม่ให้ระดับเสียงเท่ากันส่วนการปรับเสียงทอม และทอมใหญ่ ให้ใช้วิธีการปรับเสียงเหมือนกับกลองเล็ก ระดับเสียงกลองทอมทั้งสามใบมีระดับเสียงไม่เท่ากัน ควรตั้งระดับเสียงกลองทอม ด้านซ้ายมือให้เสียงสูง ทอมด้านขวามือเสียงกลาง และทอมใหญ่เสียงต่ำ ระดับเสียงกลองทอมสามใบ จะมีระดับเสียงต่อเนื่องกัน คือ สูง  กลาง และต่ำ


            การปรับเสียงกลองอีกลักษณะหนึ่งที่นิยมโดยทั่วไป  คือ  การป้องกันเสียงก้องกังวานของหางเสียงกลองขณะบรรเลงจังหวะเร็วๆ  ทำให้เสียงถี่กระชั้นของหางเสียงกลองที่ไม่ต้องการปะปนกันกับเสียงกลอง  ทำให้ได้ยินเสียงกลองที่ต้องการไม่ถนัดชัดเจน  ควรนำวัสดุที่มีน้ำหนักเบา เล่น สำลี นุ่น หรือเศษผ้าวางลงบนแผ่นพลาสติก  แล้วใช้ผ้าขนาดหนึ่งฝ่ามือ  รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใหญ่กว่าเล็กน้อยปิดทับบนวัสดุ นำกาวเทปหรือกระดาษกาว  หรือวัสดุพันสายไฟปิดทับทั้งสี่ด้าน เสียงของหางกลองจะลดน้อยลงมาก  สามารถบรรเลงจังหวะเร็วๆ ตามถนัดได้ตามความต้องการ  โดยจะได้ยินเสียงกลองเป็นจังหวะๆ ตามตัวโน้ตอย่างชัดเจน  บางครั้งผู้บรรเลงจะไม่นิยมปิดเศษผ้ากับแผ่นพลาสติก  จะใช้วิธีถอดแผ่นพลาสติกออกแล้วนำเศษผ้าใส่ในกลองแล้วปิดแผ่นพลาสติก  สามารถกระทำได้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ป้องกันหางเสียงกลอง


วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วิธีการตีกลองชุด


                      

ส่วนประกอบของกลองชุด

         

  ส่วนประกอบของกลองชุด
     กลองชุดประกอบด้วยกลองลักษณะต่างๆ หลายใบและฉาบหลายอันมารวมกันโดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว  กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรีดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่  แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊สและวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลงได้แก่วง คอมโบ้  วงสตริงคอมโบ้  ฯลฯ  กลองที่ใช้ร่วมบรรเลงกับกลองชุดมีดังนี้

            1.  กลองใหญ่ (Bass Drum)
            กลองใหญ่  มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับกลองใหญ่ที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์สากลแต่ขนาดแตกต่างกันคือ  ขนาดกลองใหญ่ของกลองชุดมีขนาดที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ขนาด 14 x 20 นิ้ว หรือ  14 x 22 นิ้ว  มีอุปกรณ์เหมือนกันกับกลองใหญ่วงดุริยางค์ทุกประการ เวลาบรรเลงไม่ต้องใช้ขอหยั่งรองรับ เพราะมีขาหยั่งติดมากับตัวกลอง  เพียงแต่ดึงขอหยั่งออกทั้งสองข้างจะทำให้กลองไม่เคลื่อนที่  เป็นการยึดตัวกลองใหญ่ให้ติดอยู่กับพื้นกลองใหญ่ไม่ใช้ไม้ถือสำหรับตี ใช้กระเดื่อง (Pedal)  ติดแท่งเหล็กกลมๆ ปลายหุ้มด้วยสักหลาดความยาวประมาณ 10 นิ้ว  สำหรับเท้าข้างขวาเหยียบลงไปบนกระเดื่อง ปลายกระเดื่องส่วนบนจะทำหน้าที่แทนมือ


            2. กลองเล็ก (Snare Drum)
            กลองเล็ก  เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกลองชุดรูปร่างลักษณะกลองเล็กที่ใช้บรรเลงร่วมกับกลองชุด มีลักษณะเหมือนกลองเล็กที่ใช้บรรเลงวงดุริยางค์วงใหญ่ทุกประการ  หรือเป็นกลองเล็กอย่างเดียวกัน  สามารถนำไปใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีโดยทั่วไปได้กลองเล็กเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดในจำพวกเครื่องเคาะตีทั้งหลายเพราะการบรรเลงตามบทเพลงของกลองเล็กจะทำหน้าที่บรรเลงจังหวะที่ขัดกับกลองใหญ่  โดยกลองใหญ่จะบรรเลงตามจังหวะหนัก และเบา  กลองเล็กจะบรรเลงจังหวะขืนหรือจังหวะขัด มีลักษณะเหมือนกับหยอกล้อกัน  และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ฟังตื่นตัว มีอารมณ์ร่วมกับผู้บรรเลง เกือบจะทุกบทเพลงที่เปิดโอกาสให้กลองเล็กแสดงความสนุก คึกคัก และเป็นการเรียกร้องให้เครื่องดนตรีอื่นๆร่วมสนุกสนานด้วยนั่นคือ การบรรเลงกลองเล็กตอนปลายประโยคของบทเพลง ที่ภาษานักตีกลองเรียกว่า ห้องส่งหรือ บทส่ง” (Fill)  ขนาดกลองเล็กที่นิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 x 14 นิ้ว


            3.  ฉาบ (Cymbals)
            ฉาบ  เป็นส่วนประกอบอีกชิ้นหนึ่งของกลองชุด  รูปร่างลักษณะเหมือนกับฉาบที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์  โดยทั่วไปนิยมใช้ฉาบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-30 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างขวามือ  และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16-18 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างซ้ายมือ  ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่มีเชือกหนังสำหรับมือถือ แต่จะมีขาหยั่งรองรับทั้งสองใบ  เวลาบรรเลงใช้มือขวาตีฉาบด้านขวามือเป็นหลัก เพราะมีเสียงก้องกังวานกว่า  บางครั้งอาจสลับเปลี่ยนมาตีด้านซ้ายมือบ้างเป็นบางครั้ง


            4.  ไฮแฮท (Hi Hat)
            ไฮแฮท  คือ ฉาบสองใบเหมือนกับฉาบในวงดุริยางค์  แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปนิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  14-15 นิ้ว  ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่ใช้เชือกหนังร้อยสำหรับถือ  เพราะมีขาตั้งรองรับ ใบที่หนึ่งใส่ลงบนขาตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านล่าง จะมีแผ่นโลหะและสักหลาดรองรับ  อีกใบหนึ่งใส่ลงบนขอตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านบน มีที่ไขติดอยู่กับแกนของขาตั้ง  โดยกะระยะให้ห่างกันพอประมาณ  เพื่อไม่ให้ฉาบทั้งสองใบชิดติดกัน ช่วงล่างสุดมีกระเดื่องเหมือนกับกลองใหญ่สำหรับเหยียบให้ฉาบทั้งคู่กระทบกัน  ไฮแฮทมีหน้าที่คอยขัดจังหวะหรือช่วยหนุนกลองเล็ก เน้นจังหวะขัดให้กระชับยิ่งขึ้น


            5.  ทอม ทอม (Tom Tom)
            ทอม ทอม  คือ กลองขนาดเล็กสองใบมีรูปร่างเหมือนกลองเล็ก แต่มีขนาดสูงกว่า ไม่ติดเส้นลวด ทอม ทอม ทั้งสองใบมีขนาดแตกต่างกัน ใบหนึ่งจะติดตั้งทางด้านซ้ายมือ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าอีกใบหนึ่ง ซึ่งติดตั้งด้านขวามือ  โดยทั่วไปนิยมใช้ทอม ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 x 13 นิ้วและขนาด 14 x 14 นิ้ว ทั้งสองใบจะมีรูด้านข้างสำหรับใส่แกนโลหะเพื่อติดตั้งบนกลองใหญ่ ระดับเสียงทอม ทอม ด้านซ้ายมือมีระดับเสียงสูงกว่าด้านขวามือ ทอม ทอม มีหน้าที่สร้างความสนุกคึกคัก โดยจะบรรเลงในบทส่ง หรือการเดี่ยวกลอง (Solo)  เพื่อสร้างความรู้สึก  การกระตุ้นให้เพลิดเพลินกับจังหวะ บทเพลงที่ใช้  ทอม ทอม บรรเลงมากที่สุด คือ เพลงประเภทลาติน


            6.  ฟลอร์ทอม (Floor Tom)
            ฟลอร์ทอม  มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า ทอมใหญ่” (Large Tom)  รูปร่างลักษณะเหมือนกับ ทอม ทอม ไม่ติดเส้นลวด ขนาดของฟลอร์ทอม สูงกว่าทอม ทอม  มีขาติดตั้งกับ

ประวัติความเป็นมาของกลองชุด

            

ประวัติความเป็นมาของกลองชุด




                              

                  

กลองชุด
กลองชุดเป็นชื่อเรียกภาษาไทย  มีความหมายถึง  กลองหลายใบ ภาษาอังกฤษ
ใช้ Team Drum  หรือ Jass Drum  ทั้งสองชื่อมีความหมายเหมือนกัน  คือ  การบรรเลงกลอง
ครั้งละหลายใบ  คำว่า  “แจ๊ส (Jass)  หมายถึง  ดนตรีแจ๊ส  ซึ่งใช้กลองชุดร่วมบรรเลง  จึงเรียกว่า  Jass Drum  และยังมีชื่อเรียกกลองชุดเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Dance Drumming  หมายถึงกลองชุดใช้บรรเลงจังหวะเต้นรำ
           
กลองชุดประกอบด้วย กลองลักษณะต่างๆหลายใบ  และฉาบหลายอันมารวมกัน  โดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว  กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรีดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่  แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊ส และวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลงได้แก่  วงคอมโบ้ (Combo)  วงสตริงคอมโบ้ (String Combo)  ฯลฯ
           
กลอง  จัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในจำพวกเครื่องดนตรีทั้งหมด  ในอดีตมนุษย์
ขึงหนังสัตว์บนรูกลวงของท่อนไม้ และตีหนังสัตว์ด้วยนิ้วและมือ  จากการศึกษาประวัติศาสตร์พบว่า คนตีกลองพื้นเมืองจะตีกลองเป็นจังหวะ สำหรับการเต้นรำระหว่างเผ่า  แต่ปัจจุบันพบว่า การบรรเลงกลองชุดจะเด่นที่สุดในส่วนของวงดนตรี  สำหรับการเต้นรำ  คนตีกลองพยายามปรับปรุงวิธีการ
บรรเลง  โดยบรรเลงตามจังหวะที่ได้ยินแล้วนำมาปรับปรุงโดยการคิดค้นระบบใหม่ขึ้น  ซึ่งนับว่าเป็นระบบที่ได้ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก  โดยการบันทึกอัตราส่วนของจังหวะกลองในบทเพลง  การบันทึก

บทเพลงนั้นประกอบด้วย ทำนองเพลง การประสานเสียงและจังหวะ  ทำให้ดนตรีมีการประสานเสียงกลมกลืน  เพิ่มความไพเราะมากยิ่งขึ้น  การริเริ่มพัฒนากลองชุดเป็นครั้งแรก  โดยเริ่มต้นจากบทเพลงจังหวะวอลซ์ (Waltz)
           
ในช่วง ค.ศ. 1890 ถึง ค.ศ. 1910 นักตีกลองชุดเริ่มแยกออกจากแบบดั้งเดิม  พยายามที่จะแสดงออกถึงความรู้สึกที่เป็นอิสระของดนตรี แทนแบบเก่าที่มีแบบแผนบังคับ ให้ปฏิบัติตามการแสดงถึงความก้าวหน้าของนักตีกลองชุดคือ  จะเติมความสนุกสนานลงในช่วงปลายประโยคเพลง หรือต้นประโยคเพลงแล้วจึงบรรเลงตามบทเพลงที่กำหนด  ซึ่งเป็นเพียงการบรรเลงให้ถูกต้องตามจังหวะเพลงเท่านั้น  การแสดงความก้าวหน้านี้เป็นการคิดค้นเพื่อการสร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจภายในโดยตรงของนักตีกลองชุด
           
ปี ค.ศ. 1910 ถึง ค.ศ. 1920 จังหวะ แร็กไทม์ (Ragtime)  ได้รับความนิยมมากเพราะเป็นจังหวะใหม่และน่าตื่นเต้น  ลักษณะจังหวะแร็กไทม์ เป็นจังหวะเร็ว  และรวบรัดชวนให้เต้นรำ
สนุกสนาน เป็นที่ชื่นชอบของชนชาวผิวดำ  แต่นักตีกลองส่วนใหญ่  โดยเฉพาะคนรุ่นเก่าปฏิเสธ
ของใหม่ โดยตระหนักถึงรูปแบบจังหวะของดนตรีอิสระ  และเรียกพวกนักตีกลองชุดจังหวะ
แร็กไทม์ว่า  “ของปลอม”  เพราะบรรดานักตีกลองชุดรุ่นใหม่บรรเลงโดยการใช้ความจำและบรรเลงอย่างใช้อิสระโดยไม่ใช้โน้ตเพลง  ถึงแม้ว่าจะเป็นการบรรเลงโดยปราศจากตัวโน้ต แต่ผู้บรรเลงสามารถอ่านและเข้าใจอารมณ์ของดนตรีได้เป็นอย่างดี  ที่สำคัญก็คือ  สามารถบรรเลงได้อย่างดีเยี่ยม
           

ต้นศตวรรษที่ 20 ปี ค.ศ. 1920  ดนตรีแจ็สเริ่มได้รับความนิยมอย่างช้าๆ บรรดา
นักตีกลองชุดรุ่นเก่าที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงการบรรเลงจำต้องยอมพ่ายแพ้แก่นักตีกลองชุดรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียง  จังหวะการบรรเลงค่อยๆเริ่มเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย  ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและรสนิยมของผู้ฟัง  แต่อย่างไรก็ตาม นักตีกลองจะต้องทราบเกี่ยวกับการรัวการทำเสียงให้
สั่นสะเทือน และความรู้เกี่ยวกับหนังกลองหรือแผ่นพลาสติกที่จะทำให้ขึงตึงพอดีไม่หย่อนหรือตึงเกินไป นักตีกลองที่ดีและเก่งที่มีความรู้รอบตัวมักจะหางานได้ง่าย แต่ผู้ที่มีความรู้อย่างดีเรื่อง
เครื่องเคาะตีทั้งหมดก็จะได้งานที่ดีกว่า


           
ต่อมาในปี ค.ศ. 1928 ถึง ค.ศ. 1935 เป็นยุคของซิมโพนิค-แจ๊ส (Symphonic- Jass)  จังหวะของดนตรีมีทั้งจังหวะเร็วและช้า  การบรรเลงจังหวะช้านั้น เริ่มมีการใช้แปรงลวด (Wirebrushes)  หรือภาษานักตีกลองเรียกว่า แซ่”  นักตีกลองต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแปรงลวด ถึงวิธีการใช้และวิธีการบรรเลงและนักตีกลองต้องเป็นผู้ที่ตั้งจังหวะในบทเพลงพร้อมทั้งยึดจังหวะให้มั่นคง เครื่องดนตรีอื่นๆจะปฏิบัติตามจังหวะกลองชุด
           
ปี ค.ศ. 1935  จังหวะแบบใหม่ที่มีชื่อว่า สวิง (Swing)  เริ่มแพร่หลายช่วงตอนต้นของปี บทเพลงทุกเพลงต้องมีกลองชุดเข้าร่วมบรรเลงด้วยเสมอ  นับเป็นครั้งแรกที่นักตีกลองชุดเข้าถึงจุดสุดยอด ซึ่งมีความสำคัญมาก จัดอยู่ในระดับสูงสุด  เพราะไม่มีงานไหนจะสมบูรณ์แบบถ้าขาดกลองชุดและการบรรเลงเดี่ยว (Solo)  ถึงขนาดนักตีกลองชุดที่เก่งๆมีชื่อเสียงนำชื่อของตนเองมาตั้งเป็นชื่อของวงดนตรี  ในยุคนี้จึงถือว่าเป็นยุคของนักตีกลองชุดที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง
           
จากประวัติของกลองชุดที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ารูปแบบการบรรเลงกลองชุดได้พัฒนาขึ้นตามลำดับมีการเปลี่ยนแปลงจังหวะตามยุคตามสมัย สำหรับนักตีกลองชุดผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคงยึดถือตามแบบฉบับเดิมก็จะไม่ได้รับความนิยม  การที่ไม่ปรับปรุงพัฒนาตนเองนั้นทำให้อยู่ในสังคมของดนตรีไม่ได้  เพราะจะถูกคนที่พัฒนาตนเองหรือคนยุคใหม่แย่งงานไปหมด นักตีกลองที่ดีและเก่งจะประสบความสำเร็จได้อย่างมีพื้นฐานที่ดีและมีหลักการอย่างดีอีกด้วย
           
ช่วงระยะสงครามโลกครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1940 เป็นระยะที่มีความต้องการด้านดนตรีสวิงมาก  นักตีกลองชุดมีงานมากเพราะทหารต้องการฟังเพลงหลังจากออกรบ  รัฐบาลได้ส่งวงดนตรีไปปลอบขวัญทหาร  ซึ่งเป็นการช่วยเหลือให้ทหารมีขวัญและกำลังใจสามารถสู้รบจนชนะข้าศึก  และสงคราม  ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยในกิจกรรมครั้งนี้

           
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง  รสนิยมของบุคคลทั่วไปเริ่มเปลี่ยนแปลง
ดนตรีแบบคอมโบ้ (Combo)  เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  นักตีกลองเริ่มเบื่อหน่ายการบรรเลงจังหวะเก่าๆ มีการริเริ่มจังหวะใหม่ๆ โดยใช้กลองใหญ่ช่วยเน้นจังหวะ เรียกว่า บ๊อพ (Bop)  หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ยุคของการบรรเลงด้วยนิ้วมือ (Finger Drumming Techinque)  คือการบรรเลงด้วยเทคนิคที่ใช้นิ้วมือปฏิบัติทั้งสองข้าง  โดยใช้ไม้ตีกลองมือขวา ตีฉาบด้านขวามือ ซึ่งเป็นการรักษาจังหวะให้มั่นคงแน่นอน  แล้วเปลี่ยนมือขวามาตีไฮแฮท (Hi Hat)  อยู่ด้านซ้ายมืออย่าง
ต่อเนื่อง เท้าขวาเหยียบที่กระเดื่องกลองใหญ่เน้นเสียงหนักแน่นมั่นคง  มือซ้ายตีกลองเล็กและฉาบอย่างอิสระโดยการเน้นเสียง เช่น การตีเน้นเสียงที่ริมขอบกลอง หรือ การตีหนักๆที่กลางกลอง ผู้ที่มีเทคนิคการบรรเลงด้วยนิ้วมือได้ดี คือ โจ โจนส์ (JO JONES) โจนส์ใช้มือขวาตีที่หัวฉาบมือซ้ายตีขอบฉาบอย่างชำนาญและเชี่ยวชาญ
           
จังหวะต่างๆที่นิยมบรรเลง  ตั้งแต่อดีตเรื่อยมามีจังหวะมากมายหลายรูปแบบ บางจังหวะ
ก็หายสาบสูญไป  เพราะไม่ได้รับความนิยม  แต่ก็มีจังหวะใหม่ๆเข้ามาแทนที่
ส่วนประกอบของกลองชุด